ประวัติ ของ อาคารใบหยก 2

ตึกใบหยก 2 เป็นอาคารในเครือใบหยก ซึ่งมี พันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานและกรรมการผู้จัดการ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 โรงแรมเริ่มเปิดให้บริการใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2541 และในปีเดียวกันมีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวี ออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 ของตึกใบหยก 2 ที่ความสูง 54 เมตร (150 ฟุต) บนยอดตึก และหลังจากนั้น สทท. กรมประชาสัมพันธ์ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 / เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี (ชื่อในขณะนั้นของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 / เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่งเป็นระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ออกอากาศรวมกันโดยใช้เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่องไอทีวีออกอากาศ (ต่อมาใช้ชื่อว่า ทีไอทีวี และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ไทยพีบีเอส) ซึ่งตึกใบหยก 2 นับว่าเป็น ตึกระฟ้า หลังแรกของ ประเทศไทย ที่มีความสูงเกิน 300 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน จึงมีรายละเอียดการออกอากาศดังนี้ ททบ. ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 36 (ใช้โครงข่ายที่ 2) / บมจ. อสมท (หรือช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 40 (ใช้โครงข่ายที่ 3) [ต้องการอ้างอิง] และในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นปีที่มีการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินอย่างเป็นทางการ จึงได้มีการเริ่มออกอากาศช่องความถี่โครงข่ายโทรทัศน์เพิ่มเติมคือ กรมประชาสัมพันธ์ (หรือ สทท.) ช่อง 26 (ใช้โครงข่ายที่ 1) / ไทยพีบีเอส ช่อง 44 (ใช้โครงข่ายที่ 4) / ททบ. ช่อง 52 (ใช้โครงข่ายที่ 5) เพราะด้วยความสูงของอาคาร ทำให้เสาส่งสัญญาณสามารถทำหน้าที่แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ได้ทั่วถึงในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้อาคารฯ กลายเป็นที่ตั้งของสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์หลักของ กรุงเทพมหานคร[ต้องการอ้างอิง]

รายละเอียดของอาคาร

อาคารมีความสูง 304 เมตร (994 ฟุต) มีทั้งสิ้น 88 ชั้น (ถ้าไม่นับชั้นใต้ดินจะมี 85 ชั้น) พื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ชื่อใบหยก สกาย

  • ชั้น 18 เป็นโถง โรงแรม
  • ตั้งแต่ชั้น 22 ถึง 74 เป็นห้องพักโรงแรม มีทั้งหมด 673 ห้อง
  • ชั้น 18, 76, 78, 79, 81 และ 82 เป็นห้องอาหาร ชั้น 83 เป็นบาร์ดาดฟ้า
  • ชั้น 77 และ 84 เป็นชั้นสำหรับชมทิวทัศน์ โดยที่ชั้น 84 เป็น ดาดฟ้า หมุนได้รอบ ทั้งสองชั้นนี้เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 11.00 ถึง 23.00 น.
  • ลิฟต์โดยสารอาคารนี้มีความเร็วสูงสุด 4.0 เมตร/วินาที (ส่วนพื้นที่โรงแรม) ความเร็วสูงสุด 2.1 เมตร/วินาที (ส่วนพื้นที่พลาซาและลานจอดรถ)
  • ลิฟต์และบันไดเลื่อน ภายในอาคารส่วนใหญ่จะเป็นของยี่ห้อ Hitachi (ฮิตาชิ) จากประเทศญี่ปุ่น บำรุงรักษาและตรวจเช็คสภาพ โดย บริษัท สยามฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด บริษัทในเครือสยามกลการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาคารใบหยก 2 http://www.baiyokehotel.com/ http://maps.google.com/maps?ll=13.75384,100.540974... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7538... http://www.nationchannel.com/main/news/politics/20... http://www.skyscrapercenter.com/bangkok/baiyoke-to... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://en.structurae.de/structures/data/index.cfm?... http://www.globalguide.org?lat=13.75384&long=100.5... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.75384,100.5409... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...